- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 เมษายน 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,408 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,344 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,923 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,782 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,300 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 834 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,454 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,755 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 301 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,991 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,124 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 133 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,161 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,328 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 167 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.1175 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนเมษายน 2566 ผลผลิต 509.830 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 509.419 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 0.86
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนเมษายน 2566
มีปริมาณผลผลิต 509.419 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.86 การใช้ในประเทศ 520.048 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.17 การส่งออก/นำเข้า 55.913 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.43 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 171.370 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 5.84
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา จีน กายานา อินเดีย ไทย ตุรกี และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล สหภาพยุโรป ปากีสถาน ปารากวัย อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล สหภาพยุโรป กานา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้ และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ แองโกลา บังกลาเทศ จีน
ไอเวอรี่โคสต์ กินี อิหร่าน อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย ไนจีเรีย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูง หลังจากมีข่าวว่าอินโดนีเซียจะนําเข้าข้าวประมาณ
2 ล้านตัน ในปี 2566 ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีจํากัด แม้เพิ่งจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ
(the winter-spring crop) ออกสู่ตลาดแล้วก็ตาม โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า
สื่อของรัฐอ้างการให้สัมภาษณ์ของนาย Nguyen Ngoc Nam ประธานสมาคมอาหารเวียดนามว่า ราคาข้าวยังคงระดับสูงอยู่ในระยะสั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองทั่วโลกกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ เพิ่มปริมาณอาหารสํารอง
วงการค้าข้าวเวียดนามคาดว่า ในปี 2566 การส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 6.5-6.7 ล้านตัน ลดลงจาก 7.1 ล้านตัน เมื่อปีที่ผ่านมา ในขณะที่ธนาคารกลางของเวียดนามระบุเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารฯ อยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และต้องรักษาระบบธนาคารและตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ
สํานักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างข้อมูลกรมศุลกากรว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2566) เวียดนามส่งออกได้ประมาณ 1.855 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยในเดือนมีนาคม 2566 เวียดนามส่งออกข้าวได้ 961,608 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.9 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์
ที่ส่งออกได้ 534,607 ตัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2565 (531,389 ตัน) ขณะที่มูลค่าส่งออกอยู่ที่ประมาณ 509 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566
ทางด้านสํานักข่าว Vietnam News Agency รายงานโดยอ้างรายงานที่เผยแพร่โดยกรมศุลกากร
(the General Administration of Vietnam Customs) ว่า ในไตรมาสแรกของปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.8 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 925 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และร้อยละ 30.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 ซึ่งถือเป็นมูลค่าส่งออกในไตรมาสแรกที่สูงที่สุดในรอบ 12 ปี
ข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่า เวียดนามประสบความสําเร็จในการปรับปรุงคุณภาพข้าวและความต้องการบริโภคข้าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่มาจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
นาย Le Thanh Tung รองหัวหน้าแผนกเพาะปลูกพืช สังกัดกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท
(the Ministry of Agriculture and Rural Development) กล่าวว่า การผลิตข้าวในปีนี้เฉพาะพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว คาดว่าจะมีปริมาณสูงถึง 24 ล้านตันข้าวเปลือก ขณะที่ความต้องการบริโภคในเขตสามเหลี่ยม
ปากแม่น้ำโขง และนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของเวียดนาม คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านตันข้าวเปลือก ทําให้เหลือข้าวประมาณ 13 ล้านตันข้าวเปลือก ที่จะนําไปสีแปรสภาพเป็นข้าวสารสําหรับการส่งออก โดยในจํานวนนี้ข้าวคุณภาพระดับพรีเมียมสําหรับการส่งออกมีสัดส่วนประมาณ 3 ล้านตัน ข้าวพันธุ์พิเศษประมาณ 2.1 ล้านตัน และข้าวธรรมดาประมาณ 1 ล้านตัน
สมาคมอาหารเวียดนาม (The Vietnamese Food Association; VFA) ระบุว่า มีแนวโน้มว่าข้าวเวียดนาม
จะยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เนื่องจากคาดว่าความต้องการในตลาดหลักจะเพิ่มขึ้น
ทั้งฟิลิปปินส์ จีน และแอฟริกา
นาย Nguyen Ngọc Nam ประธาน VFA กล่าวว่า ข้าวเวียดนามสามารถขายได้ราคาดีในตลาดต่างประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มไม่สดใส เนื่องจากประเทศต่างๆ ต้องการกักตุนอาหารไว้รองรับช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
ในอนาคต
นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีที่สําคัญ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ทําให้ภาษีศุลกากรข้าวเวียดนามลดลงมากถึง 175 ยูโรต่อตัน ส่งผลให้ข้าวพรีเมียมของเวียดนามได้เปรียบในตลาดยุโรป ในขณะที่ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ผู้ส่งออกพยายามที่จะซื้อเพิ่มจากเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกําไรสูงสุด อย่างไรก็ตาม หลายคนแสดงความกังวลจากการที่มีเงินไม่พอ
นาย Phan Van Chinh ผู้อํานวยการสํานักงานการค้าต่างประเทศของอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่า กระทรวงฯ ทํางานอย่างใกล้ชิดกับผู้ส่งออกเพื่อหาทางแก้ไข เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ และจัดการกับระเบียบ
การนําเข้า/ส่งออกในตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันกระทรวงฯ ระบุว่า ยังคงติดตามปริมาณข้าวที่ส่งออกอย่างใกล้ชิด เพื่อประกันความมั่นคงทางอาหารของประเทศ
โดยที่ผ่านมา ธนาคารแห่งเวียดนาม (SBV) ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการกู้ยืมให้กับผู้ค้าข้าวเพื่อช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สํานักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของกัมพูชา (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) เปิดตัวข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ “ชัมเป ซาร์ 70” หรือ “ซีพีเอส 70” (Champei Sar 70 – CPS 70) หลังจากได้ทําการวิจัยและพัฒนามาเกือบทศวรรษ
รายงานระบุว่า ข้าวหอมพันธุ์ใหม่นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรของกัมพูชา (the Cambodian Agricultural Research and Development Institute) และประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำการศึกษานาน 9 ปี และทดลองเพาะปลูกช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน รวม 80 ครั้ง
ทั้งนี้ ข้าวพันธุ์ซีพีเอส 70 ได้รับการพัฒนาจากพันธุ์ข้าวของกัมพูชาที่ได้รับรางวัลระดับโลกอย่างเช่น ข้าวหอมผกาลําดวน (Phka Rumduol) กับซีเอ็นไอ 9024 (CNi9024) โดยข้าวพันธุ์ซีพีเอส 70 เป็นข้าวหอมที่สุกรวงภายในระยะเวลา 3 เดือน
ข้าวหอมเป็นที่ต้องการสูงทั่วโลก และครองสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของ กัมพูชา โดยกัมพูชาตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวสาร 1 ล้านตัน ภายในปี 2568 ปัจจุบันภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในเสาหลักค้ำจุนเศรษฐกิจกัมพูชา มีส่วนส่งเสริมผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งหมดเกือบ 1 ใน 4 ในปี 2564 โดยภาคการเกษตรจ้างงานแรงงานกัมพูชากว่า 1 ใน 3 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
สำนักข่าว The Jakarta Post รายงานว่า ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ยืนยันเกี่ยวกับการนําเข้าข้าวจำนวน
2 ล้านตัน ในปี 2566 โดยมอบหมายให้หน่วยงาน Bulog (State Logistics Agency) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณสํารองข้าว และเพื่อเตรียมรับมือกับการเผชิญปรากฏการณ์เอลนิโญซึ่งเป็นสาเหตุของภัยแล้ง พร้อมระบุว่า การนําเข้าเพื่อเป็นปริมาณสํารองของ Bulog เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะมีฤดูแล้งที่ยาวนานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ดังนั้น Bulog และสํานักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Agency (NFA or Bapanas)) จึงเตรียมพร้อมโดยการเพิ่มปริมาณสํารองข้าว ซึ่งการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสํารองข้าวของรัฐบาล (government rice reserves) หรือ CBP จะบริหารจัดการโดย Bulog ผ่านการนําเข้าข้าว เพราะคาดว่าอาจประสบปัญหาด้านการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในการนําเข้าสินค้าโภคภัณฑ์เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยการดําเนินการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อป้องกันความยุ่งยากในการหาข้าวจากประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น ไทย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน เพราะเมื่อถึงเวลาคับขันอาจจะไม่มีข้าวเหลือในสต็อก ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในอินโดนีเซียเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด คาดว่าการนําเข้าข้าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกที่ เกษตรกรขายได้ ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ปริมาณสต็อกข้าวสํารองของ Bulog อยู่ที่ประมาณ 245,223 ตัน
ก่อนหน้านี้หัวหน้าสำนักงานอาหารแห่งชาติ ระบุว่า อินโดนีเซียจะพยายามนําเข้าข้าวจํานวน 2 ล้านตัน จาก
4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และอินเดีย
ด้านสํานักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์ (BMKG) ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 50-60
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,084.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 385.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,099.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 15.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,156.07 ล้านตัน ลดลงจาก 1,202.92 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.89 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย และรัสเซีย มีความต้องการใช้ลดลง
สำหรับการค้าของโลกมี 179.35 ล้านตัน ลดลงจาก 193.48 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 7.30 โดย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย แอลจีเรีย โมร็อกโก กัวเตมาลา สาธารณรัฐโดมิกัน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 671.00 เซนต์ (9,117.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล ละ 656.00 เซนต์ (8,897.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.29 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 220.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.406 ล้านตัน (ร้อยละ 7.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมันและมีหัวมันเน่าในหลายพื้นที่ตั้งแต่ช่วง
ต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตในปัจจุบันน้อยกว่าปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 22 – 27% สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.14 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.46 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.84
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,280 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,230 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,560 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,450 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.621 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.678 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.302 ล้านตันของเดือนมีนาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 3.40 และร้อยละ 3.31 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.52 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.59 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 33.42 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.50
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
รัฐสภายุโรปได้รับรอง landmark deforestation law เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายนี้จะบังคับใช้กับสินค้าทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้ และสินค้าที่จะนำเข้า EU ต้องมีเอกสารรับรองและตรวจทานว่าสินค้าดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้นับตั้งแต่สิ้นปี 2563 เป็นต้นไป โดยมาเลเซียได้ให้ความเห็นว่ากฎหมายนี้ว่าเป็นการขัดขวางทางการค้า และอาจตอบโต้โดยการหยุดการส่งออกน้ำมันปาล์มให้ EU หากมีการนำเข้าสินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามข้อกฎหมาย อาจจะโดนค่าปรับสูงสุดร้อยละ 4 ของรายได้ผลประกอบการของบริษัท ซึ่งคาดว่ากฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,098.95 ริงกิตมาเลเซีย (32.25 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,272.96 ริงกิตมาเลเซีย (33.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.07
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,023.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.33 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ ละ 1,040.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.69
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- องค์กร Sindacucar – AL รายงานว่า โรงงานในรัฐอลาโกอัส ของประเทศบราซิล 10 - 15 แห่ง ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวอ้อยตามปกติที่จะดำเนินการเสร็จสิ้นตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมีนาคม โดยโรงงานหวังที่จะเก็บเกี่ยวอ้อยทั้งหมดแม้จะมีฝนตก ด้าน Climatempo คาดการณ์ว่า สัปดาห์หน้าฝนจะตกหนักในทางตอนเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล โดยรัฐอลาโกอัส (Alagoas) หีบอ้อยได้ 18.6 ล้านตัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม ซึ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.83 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,504.68 เซนต์ (19.00 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,510.70 เซนต์ (19.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.40
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 456.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.56 เซนต์ (41.33 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.54 เซนต์ (42.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.76
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.83 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,504.68 เซนต์ (19.00 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,510.70 เซนต์ (19.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.40
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 456.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.56 เซนต์ (41.33 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.54 เซนต์ (42.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.76
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.89 บาท
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,027.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,031.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 909.50 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 912.33 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.12 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,297.33 ดอลลาร์สหรัฐ (44.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 850.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 853.33 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,169.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,173.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.51 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.54 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,107 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,103 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,501 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,489 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 87.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.47 คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.42 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 83.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 387 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 400 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.74 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.75 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 87.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.47 คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.42 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 83.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 387 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 400 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.74 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.75 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.69 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.22 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.95 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.69 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.22 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.95 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา